ค่าธรรมเนียมและภาษีต่างๆ ในการโอนที่ดิน ในการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้น มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1.
2.
ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดตามอัตราภาษีก้าวหน้า โดยไม่ได้รับยกเว้น 150,000 บาทแรก3. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ หรืออากรแสตมป์ เสียรายการใดรายการหนึ่ง โดยอัตราค่าภาษีธุรกิจเฉพาะบวกกับภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมเป็นร้อยละ 3.3 ส่วนค่าอากรร้อยละ 0.5ราคาประเมินของกรมที่ดินที่เป็นฐานภาษีกรณีผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาฐานภาษีใช้ราคาประเมินฯ ของกรมที่ดิน กรณีผู้ขายเป็นนิติบุคคลใช้ราคาตามสัญญาซื้อขายราคาประเมินที่สูงกว่า
1.
กรณีผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา การหักค่าใช้จ่ายมี 3 กรณีดังนี้1.1
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาทางมรดกหรือจากการให้โดยเสน่หา หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 501.2
การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาโดยอสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่นอกเขต กทม. เทศบาลเมืองพัทยาฯ หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 50 แต่ได้รับยกเว้นเงินได้200,000 บาทแรกต่อปีภาษี1.3
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายขายอสังหาฯ ที่ได้มาจากทางอื่นนอกจากมรดกหรือให้โดยเสน่หาหักค่าใช้จ่ายเหมาตามพระราชกฤษฎีกาขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ถือครอง ถ้าถือครองเกิน 8 ปี ให้นับเพียง 8 ปี การนับจำนวนปีนับตามปีปฏิทิน อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดถือครอง 1 ปีร้อยละ 92 ต่อสุดถือครอง 8 ปีร้อยละ 50ข้อสังเกตุ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้รับยกเว้นเงินได้
150,000บาทแรกแต่อย่างใด2.
กรณีผู้ขายเป็นนิติบุคคล หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายร้อยละ 1 ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินที่สูงกว่า3.
การตรวจสอบราคาประเมินสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์ แต่หากไม่มีข้อมูล ต้องไปตรวจที่สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ ข้อแนะนำสำหรับโฉนดที่มีการแบ่งแยกออกโฉนดใหม่ ควรไปที่สำนักงานที่ดินให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบโฉนดรวมด้วย เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดด้านราคาประเมินอาจทำให้เสียเวลาในการทำเอกสารการเงิน เพราะระบบราชการไม่สามารถรับแคชเชียร์เช็คที่มีมูลค่าสูงกว่าค่าธรรมเนียมและภาษีได้ แต่หากทำแคชเชียร์เช็คต่ำกว่าสามารถจ่ายเป็นเงินสดเพิ่มเติมได้
Copyright (c) 2014 - 2025 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by
CRiT SERVICE |
CHECK MAIL |
BOOKMARK |
NR SERVICE