ภาษีบำรุงท้องที่
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน
อัตราภาษี
-จะเสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง
-ที่ดินว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์จะต้องเสียภาษีเป็น2เท่าของอัตราปกติ
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและชำระภาษี
1.ให้เจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.ษ.ท. 5) และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่2มกราคม-30เมษายน ของทุกปี
2.ผู้ที่ได้รับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่ หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน(ภ.ท.บ.5)ภายใน30วัน นับตั้งแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์
การลดหย่อน และการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่
1.ที่ดินแปลงที่เจ้าของปลูกบ้านอยู่อาศัย โดยไม่ทำการค้า หรือ ให้เช่าแต่อย่างใดทั้งสิ้นลดหย่อนได้1ไร่ ส่วนที่เกินต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด
2.ที่ดินที่เจ้าของปลูกบ้านให้เช้าหรือปลูกบ้านทำการค้าและได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว จะได้รับการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ในส่วนที่อาคารนั้นตั้งอยู่
อัตราโทษและค่าปรับ
1.ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม10%ของค่าภาษี
2.ยื่นรายการไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเพิ่ม10%ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม
3.ชี้เขตแจ้งจำนวนพื้นที่ไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเพิ่มอีก1เท่าของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม
4.ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่30เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม24%ต่อปีของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ภาษีป้าย
เป็นภาษีที่จจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือโฆษณา หรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะ สลัก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
อัตราภาษี
1.ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา3บาท ต่อ 500ตารางเซนติเมตร
2.ป้ายที่มีอักษรไทยกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่น คิดอัตรา20บาท ต่อ 500ตารางเซนติเมตร
3. ป้ายดังต่อไปนี้ คิดอัตรา40บาท ต่อ 500ตารางเซนติเมตร
-ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือ เครื่องหมายใดๆ หรือไม่
-ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่า200บาท ให้เสียอัรา200บาท
4.ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้วเสียภาษีต่ำกว่า200บาท ให้เสียอัตรา200บาท
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
1.เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ตั้งแต่2มกราคม-31มีนาคมของทุกปี โดยเสียภาษีเป็นปี ยกว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรก
2.ชำระภาษีป้ายภายใน15วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจากเจ้าหน้าที่
3.ถ้าภาษีป้ายเกิน3000บาท จะขอผ่อนชำระเป็น สามงวด เท่าๆกันก็ได้
การอุทธรณ์
ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบ ภ.ป.4 ภายใน 30วัน นับแต่วันที่ได้รับการประเมิน
อัตราโทษและค่าปรับ
1.ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคม หรือหลังติดตั้งป้าย15วัน เสียเงินเพิ่ม10%ของค่าภาษี
2.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่ม10%ของค่าภาษีที่ได้รับการประเมินเพิ่มเติม
3.ไม่ชำระเงินภายใน15วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม2%ต่อเดือนของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
4.ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่5000-50000บาท
5.ผู้ใดไม่แจ้งการโอนรับป้ายภายใน30วัน ตั้งแต่วันรับโอนต้องระวางโทษตั้งแต่1000-10000บาท
6.ผู้ใดไม่แสดงชื่อ-ที่อยู่ เจ้าของป้ายเป็นอักษรไทยให้ชัดเจน ที่มุมขวาด้านล่างของป้าย ที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น และมีพื้นที่เกิน2ตารางเมตร ต้องระวางโทษปรับวันละ100บาท เรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่ทำกระทำความผิด
7.ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้ว หรือโดยจงใจแจ้งข้อความเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน1ปี หรือปรับตั้งแต่5000-50000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
25 กุมภาพันธ์ 2549
Copyright (c) 2014 - 2025 narongaccounting.co.th All rights reserved.
System developed by
CRiT SERVICE |
CHECK MAIL |
BOOKMARK |
NR SERVICE